link1

ศูนย์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย
กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ ชุมพร ไทย พระนครศรีอยุธยา พังงา พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง สงขลา สุพรรณบุรี นครราชสีมา กรุงเทพมหานครฯ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครนายก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พะเยา พัทลุง เพชรบูรณ์ แพร่ ราชบุรี ลำปาง สตูล สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุราษฎร์ธานี อุทัยธานี ชัยภูมิ ตราด นครปฐม นนทบุรี บุรีรัมย์ ปทุมธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี สุรินทร์ ภูเก็ต ระยอง เลย มุกดาหาร นครพนม ศรีสะเกษ หนองคาย อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เชียงราย ลำพูน ตรัง นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี ลพบุรี ชัยนาท จันทบุรี เพชรบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา อ่างทอง กำแพงเพชร นครสวรรค์ นราธิวาส พิจิตร

บริการสืบค้น

Custom Search
อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออกในท้องที่ตำบลตลาดกรวด อยู่ริมถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 32) กิโลเมตรที่ 103–104 หรือ จากศาลากลางจังหวัดไปตามถนนคลองชลประทานประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดองค์พระยาวประมาณ 10 วา และยังมีโบราณวัตถุต่างๆ ที่มีอายุราว 100 ปี
ตั้งอยู่ริมถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 32) เลยสี่แยกทางเข้าอ่างทอง สายเอเชียไปทางนครสวรรค์ประมาณ 500 เมตร เลี้ยวขวาเข้าปั้มน้ำมันปตท.ไปประมาณ 30 เมตร เดิมชื่อวัดกุฏิ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประคำทองซึ่งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาเก่ามาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีหลักฐานสำคัญเหลือให้เห็นคือ กำแพงแก้ว พระอุโบสถ เจดีย์และวิหาร ซึ่งวางจัดกลุ่มได้เหมาะสม มีรูปทรงที่งดงาม พระอุโบสถเจดีย์เป็นรูปโค้งสำเภาก่ออิฐถือปูนกว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร หลังคาสูง 6 เมตรมุงด้วยกระเบื้องดินเผา สิ่งที่เป็นศิลปะชั้นเยี่ยมของพระอุโบสถได้แก่ หน้าบันไม้ด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถแกะสลักลายอย่างวิจิตรพิศดาร เป็นลายดอกบัวอยู่กลาง ก้านขด ปลายลายเป็นช่องหางโต แปลกตรงที่ลายดอกบัวมีลักษณะคล้ายจะเป็นเทพนมอยู่ยอดดอกบัว
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออกตามเส้นทางหลวงหมายเลข 309 (สายอ่างทอง-อยุธยา) กิโลเมตรที่ 52–53 จากอำเภอเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 3 - 4 กิโลเมตร ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่มีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกแต่มีขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมากปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ และยังมีพระพุทธรูปสร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรมราว พ.ศ. 2163 เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาเมื่อใกล้จะพังลงน้ำ พระมหาวิเชียร ขันนาค พร้อมด้วยพุทธบริษัทได้ช่วยกันเลื่อนเข้ามาประดิษฐาน ไว้ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 ต่อมาได้ชักชวนกันสร้างพระวิหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉลองเมื่อปี พ.ศ. 2502 เพราะเหตุที่ผ่านอุปสรรคจากกิเลสมารตลอด รอดมาได้ อย่างราบรื่น จึงพร้อมใจกันถวาย พระนามนิมิตรว่า พระรอดวชิรโมลี เพื่อเป็นที่สักการะเคารพบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอดกาล 5,000 พรรษา